ERP อสังหาริมทรัพย์ ERP Real Estate

logo
 
    

5 ข้อควรระวัง การก่อสร้างช่วงหน้าฝน

 

ระวังคูณสอง ฝนตก อุปสรรคการก่อสร้าง

แนะนำ 5 ข้อควรระวัง เคล็ดลับวิธีรับมือการทำงานก่อสร้างในช่วงหน้าฝน 

 

                        “ทำงานช่วงหน้าฝน” อีกหนึ่งอุปสรรคใหญ่ของงานก่อสร้างที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งฝนที่เทลงมานั้นได้ส่งผลกระทบอย่างหนักในการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัยในการทำงาน ความล่าช้าของงานที่เกิดขึ้น ต้นทุนสูงขึ้น ขั้นตอนการทำงานเพิ่มมากขึ้น และความเสียหายที่จะเกิดขึ้น  แต่ถึงอย่างไรงานยังคงต้องเดินหน้าต่อไป

                        ฉะนั้น วันนี้น้องแมงโก้จึงรวบรวมปัญหา อุปสรรค และข้อควรระวังต่าง ๆ ในการทำงานก่อสร้างช่วงหน้าฝนมาฝากพี่ ๆ ผู้รับเหมาครับ พร้อมบอก เคล็ดลับ วิธีเตรียมพร้อมรับมือป้องกันปัญหา ที่จะเกิดขึ้นอีกด้วย

 

5 อุปสรรค ที่ควรระวังในการก่อสร้างช่วงหน้าฝน

1.ความปลอดภัย

ความปลอดภัย - การก่อสร้างช่วงหน้าฝน

ความปลอดภัยของพนักงาน

  • เคลื่อนไหวร่างกายอย่างระมัดระวัง ถ้าฝนตกให้ก้าวเดินช้า ๆ อย่างมั่นคง
  • พยายามใส่รองเท้าที่รัดเท้าพอดี ไม่หลวม หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง
  • สวมใส่เสื้อผ้าที่ทำให้อบอุ่น
  • งดทำงานในที่โล่งแจ้ง และงานที่ต้องปีนป่าย

ความปลอดภัยเรื่องอุปกรณ์ และสถานที่ทำงาน 

  • เช่น สายไฟ แผงควบคุม คัตเอาต์ ควรมีอุปกรณ์ป้องกันฝนสาด

 

 

2. การจัดเก็บวัสดุ อุปกรณ์ 

การจัดเก็บวัสดุ อุปกรณ์ก่อสร้าง ช่วงหน้าฝน

  • รถขุดดิน : ควรจอดไว้ในที่ร่ม ลดการปะทะของฝนกับตัวเครื่อง สามารถยืดอายุการใช้งาน
  • เครื่องเจาะ เครื่องขุด : ควรเก็บให้ห่างจากความชื้น
  • เหล็กเส้น เหล็กรูปพรรณ : ควรเก็บไว้ในโรงเรือนชั่วคราวและยกสูงจากพื้นดิน ใช้ผ้าคลุมกันฝน เพื่อป้องกันสนิมที่เกิดจากละอองน้ำ
    กรณีที่เหล็กมีสนิมเกิดขึ้น จำเป็นต้องขัดเอาสนิมออกให้หมดก่อนนำใช้งาน เพราะหากสนิมกินเข้าไปในเนื้อเหล็กจะทำให้เหล็กผุพัง ไม่สามารถรับน้ำหนักได้ตามปกติ
  • ทราย และหิน : ควรหาพลาสติกปูรองพื้นให้กับหินหรือทราย หรือตีบล็อกกั้นไม่ให้ทรายไหลไปกับน้ำ และป้องกันไม่ให้เปื้อนดิน โคลน เศษใบไม้ และสิ่งสกปรกต่าง ๆ
  • ปูนซีเมนต์ เป็นวัสดุที่ต้องระวังเป็นพิเศษ ห้ามโดนน้ำโดยเด็ดขาด : ควรทำโรงเรือนชั่วคราวยกพื้นสูงประมาณ 20 เซนติเมตร และใช้แผ่นพลาสติกหรือผ้าใบคลุมเอาไว้ (หากปูนซีเมนต์โดนความชื้นจะจับตัวเป็นก้อนแข็ง หากนำไปใช้งานต่อจะทำให้คอนกรีตที่ผสมจากปูนซีเมนต์นั้นไม่แข็งแรง)

 

 

3. ต้นทุน

ต้นทุนก่อสร้าง ช่วงหน้าฝน

  • วัสดุบางประเภทมีราคาสูงขึ้น เนื่องจากขั้นตอนการผลิตที่ยากขึ้น เช่น อิฐมอญ 
  • ทำงานไม่เต็มที่ เสียค่าใช้จ่ายแรงทำงานเหมา ต้องยืดระยะเวลาการทำงานและค่าแรงให้บานปลาย เสี่ยงต้นทุนค่าแรงเพิ่มสูงขึ้น
  • ควรเตรียมงบประมาณสำรองในกรณีฉุกเฉิน เช่น วัสดุ อุปกรณ์มีปัญหา, ขนส่งล่าช้า และค่าแรง

 

 

4. พื้นที่การทำงาน

เตรียมพื้นที่การทำงานช่วงหน้าฝน

ระวังเรื่องความอ่อนตัวของดินในพื้นที่ก่อสร้าง ทำให้หน้างานทำงานยาก เดินไม่สะดวก รถติดหลุมดิน สร้างภาระงานเพิ่มในการเก็บกวาด และส่งผลกระทบระบบงานก่อสร้างที่อยู่ใต้ดิน เช่น งานฐานราด งานเดินระบบท่อ

ข้อแนะนำ

  • แก้ปัญหาชั่วคราวด้วยการนำแผ่นไม้ หรือ แผ่นพลาสติดมาปูพื้น
  • ในโครงการก่อสร้างมีฐานรากใหญ่และอยู่ลึกจากผิวดินมากกว่า 1.50 เมตร ควรประเมินการพังทลายของหลุมดิน และใช้เสาเข็มไม้กดล้อมไว้ก่อนขุดดินเพื่อป้องกันการพังทลาย
  • ขุดบ่อซับน้ำเพื่อรองรับน้ำฝนและติดตั้งเครื่องสูบน้ำ
  • หมั่นตรวจสอบระบบระบายน้ำ ทำการลอกท่อทันทีเมื่อมีการอุดตัน

 

งานที่ควรระวังเป็นพิเศษ 

งานทาสี

  • ต้องมีการตรวจสอบความชื้นสะสมของผนังอาคารทั้งงานทาสีภายในและภายนอก  เนื่องจากหากมีความชื้นสะสมมาก อาจทำให้เกิดปัญหาสีโป่งพอง หลุดลอกล่อนได้จากความชื้นที่ระเหยออกมาจากเนื้อวัสดุย่อมเกิดแรงดันให้สีลอกล่อน

สีน้ำพลาสติก 

  • ต้องทิ้งระยะแห้งอย่างน้อยครึ่งวันหลังจากทาเสร็จ ฉะนั้นจำเป็นต้องตรวจดูสภาพอากาศให้ชัดเจน

งานเคลือบสีไม้  เคลือบสีเหล็ก ทาน้ำยากันสนิม 

  • ต้องตรวจสอบว่าเนื้อไม้แห้งสนิท  เนื้อเหล็กปลอดสนิม

 

 

5. ความล่าช้าของงาน

ความล่าช้าของการก่อสร้างช่วงหน้าฝน

เมื่อฝนตกทำให้งานบางงานหยุดชะงัก งานล่าช้าไม่เป็นไปตามแผน ดังนั้นควรมีการวางแผนตารางการทำงานอย่างรัดกุม ประเมินระยะเวลาที่งานอาจล่าช้า 

 

การทำงานช่วงหน้าฝนต้องเกิดขึ้นทุกปี การเตรียมตัว และมีแผนงานรับมือกับสภาพอากาศที่เกิดขึ้นจะช่วยลดอุปสรรค ลดปัญหาที่เกิดขึ้นกับโครงการและการทำงาน

 

เริ่มวางแผนการก่อสร้างช่วงหน้าฝนกับ Mango Project Management 

เริ่มวางแผนการก่อสร้างช่วงหน้าฝนกับ Mango Project Management

  • วางแผนการทำงาน และการใช้งบประมาณโครงการก่อสร้างของบริษัทได้ทุกโครงการ
  • แจกแจงคนทำงานได้ทันทีตั้งแต่เริ่มวางแผนงาน
  • หน้าไซต์งานอัปเดตงานง่าย ทำงานสะดวกผ่านแอปพลิเคชัน Mango Plan
  • ผู้จัดการโครงการติดตามความคืบหน้างานก่อสร้างได้ Real-Time
  • ติดตามสถานะงาน และสถานะโครงการทั้งบริษัทได้จากในโปรแกรม พร้อมแสดงสถานะโครงการได้อย่างชัดเจนในแผนที่โลก รู้ตำแหน่งพื้นที่ทุกโครงการในบริษัท
  • เปรียบเทียบความคืบหน้างานกับการเบิกเงินที่เกิดขึ้นจริงได้ ผ่านรายงาน Project Status (เชื่อมต่อรายงานระหว่าง Mango Anywhere และ Mango Project Management) 

 

ปิดจบงานก่อสร้างได้อย่างราบรื่น ด้วยการวางแผนงาน

ที่โปรแกรม Mango Project Management

ลดต้นทุน // รู้กรอบเวลางานก่อสร้าง // วัดผลได้อย่างแท้จริง

 

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิง  :  https://bit.ly/3Oj2lSK, https://bit.ly/3yN25G2, https://bit.ly/3B2G5d7
https://bit.ly/3v4l65z, https://bit.ly/3PDUYGS, https://bit.ly/3PIu2FP 

 

--------------------------------------------------------

บทความเพิ่มเติม 

ตอบคำถามเรื่อง BOQ    ลดต้นทุนของบริษัทก่อสร้างให้มากกว่าเดิม ด้วยเทคนิค Cost Reduction Management     8 Waste สาเหตุความสูญเปล่าของธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง และพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

 

--------------------------------------------------------------------------------------------------

 facebook mango     line mango

 

 

เว็บไซต์ของแมงโก้มีการใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้คุณได้เข้าใช้งานได้อย่างมีอิสระ คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก“นโยบายการใช้คุกกี้” นโยบายการใช้คุกกี้ของเรา