ERP อสังหาริมทรัพย์ ERP Real Estate

logo
 

    

 6 ขั้นตอน จัดการความเสี่ยงการก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

6 ขั้นตอน จัดการความเสี่ยงการก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เผชิญหน้ากับความเสี่ยงได้อย่างมั่นใจ

 

เมื่อความเสี่ยงเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา และทุกสถานการณ์

วันนี้น้องแมงโก้ได้รวบรวมข้อมูล วิธีจัดการความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง เพื่อการทำงานที่ราบรื่นและมีประสิทธิภาพของโครงการ

 

6 ขั้นตอน จัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ

ระบุ หรือกำหนดความเสี่ยง เพื่อการจัดการการก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

1. ระบุ หรือกำหนดความเสี่ยง
ศึกษา วิเคราะห์ความเสี่ยงที่พบได้บ่อยในการก่อสร้าง

  • ระบุความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนของโครงการก่อสร้าง เช่น ระหว่างขั้นตอนการดำเนินงาน หลังการก่อสร้าง เป็นต้น
  • จัดประชุมระดมความคิดกับทีมงาน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้เชี่ยวชาญ
  • ระบุสถานการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อโครงการ
  • สามารถอ้างอิงข้อมูลจากประสบการณ์ที่เคยพบเจอจากโครงการที่ผ่านมา หรือศึกษาข้อมูลจากผลวิจัยต่าง ๆ
  • ประชุมสม่ำเสมอเพื่อมองหาความเสี่ยงเพิ่มเติมที่อาจเกิดขึ้นระหว่างดำเนินงาน

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

>> เจาะลึก 5 ความเสี่ยงธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง

 

 

ประเมินความเสี่ยง เพื่อการจัดการการก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

2. ประเมินความเสี่ยง

สามารถประเมินความเสี่ยงได้ด้วย 2 ปัจจัย ดังนี้

Impact ความรุนแรงของผลกระทบที่ได้รับจากความเสี่ยงนั้น
1 = Insignificant ไม่ส่งผลกระทบ
2 = Minor ส่งผลกระทบเล็กน้อย
3 = Moderate ส่งผลกระทบปานกลาง
4 = Major ส่งผลกระทบมาก
5 = Catastrophic ส่งผลกระทบสูงมาก

Likelihood โอกาสการเกิดความเสี่ยง โดยใช้จำนวนเปอร์เซ็นต์ในการวิเคราะห์ความเสี่ยง
1 = Rare : เกิดขึ้นน้อยมาก เช่น มากกว่า 10 ปี ถึงจะเกิดเหตุการณ์นี้สักที
2 = Unlikely : เกิดขึ้นมีน้อย เช่น ใช้เวลา 5 - 10 ปี จึงจะเกิดเหตุการณ์นี้
3 = Possible : เกิดขึ้นในบางครั้ง เช่น เกิดขึ้นทุกปี
4 = Likely : เกิดขึ้นบ่อย เช่น เกิดขึ้นในทุก ๆ เดือน
5 = Almost certain : เกิดขึ้นเป็นประจำ เช่น เกิดขึ้นทุกวัน

 

ประเมินความเสี่ยง เพื่อการจัดการการก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

Degree  of  Risk ระดับความเสี่ยงแบ่งออกเป็น

  • E - Extreme Risk (16-25) ความเสี่ยงระดับสูงสุด ต้องมีแผนการจัดการที่แน่นอน
  • H - High Risk (10-15) ความเสี่ยงระดับสูง เตรียมการ เตรียมแผนการจัดการไว้รองรับ
  • M - Moderate Risk (4-9) ความเสี่ยงระดับกลาง ควรติดตามความเสี่ยงเป็นระยะ เพื่อวางแผนการจัดการ
  • L - Low Risk (1-3) ความเสี่ยงระดับต่ำ อาจยอมรับความเสี่ยงไว้ได้ หรือคอยติดตามระบุระดับความเสี่ยงเป็น

 

กำหนดกลยุทธ์จัดการความเสี่ยง เพื่อการจัดการการก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

3.กำหนดกลยุทธ์จัดการความเสี่ยง
กำหนดกลยุทธ์ แนวทางการรับมือกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย 4 Strategy

Terminate : หลีกเลี่ยง
ใช้ในกรณีไม่พร้อมรับมือกับความเสี่ยง หรือ ไม่มีแผนการรับมือที่เหมาะสม เช่น หลีกเลี่ยงการก่อสร้างในพื้นที่เสี่ยงเกิดอุทกภัย

Transfer : โอน
กระจายความเสี่ยงไปยังบุคคลอื่น หรือยอมจ่ายเงินเพื่อรับประกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น การทำประกันความเสียหายโครงการ หรือการส่งต่อให้ผู้อื่นเข้ามารับผิดชอบแทน

Treat : ลดผลกระทบ
วางแผน ปรับปรุงระบบการดำเนินงาน ออกแบบวิธีการดำเนินงานใหม่เพื่อหลีกลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และลดความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต 

Take : ยอมรับ
ยอมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น พร้อมสร้างแผนเฝ้าระวังและแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้โครงการก่อสร้างสามารถดำเนินการต่อไปได้ เช่น
ยอมรับความล่าช้าของงานก่อสร้างบางส่วนเนื่องจากผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสภาพอากาศ ดังนั้นเมื่อผ่านพ้นสภาพอากาศที่เลวร้ายไปแล้วต้องเร่งเวลาทำงานเพื่อให้งานเสร็จสิ้นตามระยะเวลาของสัญญา

 

 

ดำเนินการตามแผน เพื่อการจัดการการก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

4. ดำเนินการตามแผน

  • วางแผน และดำเนินการตามแผนจัดการความเสี่ยงของคุณ โดยหมั่นตรวจสอบและปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้น ๆ
  • ระบุรายละเอียด บันทึกข้อมูลที่สำคัญ เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นเป็นแนวทางในการวางแผนและพัฒนาแก้ไขแผนใหม่ในอนาคต

 

เพิ่มประสิทธิภาพ และจัดการความเสี่ยงให้ดียิ่งขึ้น

เทคโนโลยี
ใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาร่วมกับการทำงานก่อสร้าง เช่น BIM, โดรน, เทคโนโลยีโลกเสมือน IMT, IoT เป็นต้น

โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ต่าง ๆ
เลือกใช้โปรแกรมที่เหมาะสมกับการทำงานของธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง เช่น

  • Mango Anywhere - โปรแกรมบริหารโครงการก่อสร้าง และพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
  • Mango QCM - โปรแกรมตรวจงานการก่อสร้าง
  • Mango Project Management - โปรแกรมวางแผนโครงการก่อสร้าง (WBS)

ที่ปรึกษา หรือผู้เชี่ยวชาญ
รับฟังคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น การร่างสัญญา การทำประกันภัย

 

 

การร่วมมือกัน เพื่อการจัดการการก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

5. การร่วมมือกัน
ทั้งนี้ จะรับมือกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ ต้องการจากการร่วมมือร่วมใจกันของทีมงาน พร้อมการสื่อสารอัปเดตข้อมูลให้ทุกคนในองค์กรได้ทราบทั่วกัน

 

 

แผนสำรอง เพื่อการจัดการการก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

5. แผนสำรอง
เตรียมแผนสำรอง เพื่อเป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหาไว้ให้กับสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ หมั่นตรวจสอบ วิเคราะห์ เพื่อการพัฒนากลยุทธ์การก่อสร้างในอนาคต

 

                  ความเสี่ยงเป็นเรื่องไม่แน่นอน อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ แต่อย่าได้ประมาทเด็ดขาด เพราะทุกความเสี่ยงล้วนส่งผลกระทบต่อผลลัพธ์ การทำงาน การเงิน และความปลอดภัยของคนทุกคน

 

เลือกวางแผน และลดความเสี่ยงของโครงการก่อสร้าง

เลือก Mango Anywhere

 

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิง  : https://bit.ly/3pZsrjW, https://bit.ly/3D0IxSr, https://bit.ly/3e6bUYU  

 

--------------------------------------------------------

บทความเพิ่มเติม 

7 เทคโนโลยีอสังหาริมทรัพย์ สร้างความแข็งแกร่งให้กับวงการอสังหา ฯ ไทย    Scope-Time-Cost-Quality หัวใจสำคัญที่ผู้บริหารโครงการก่อสร้าง “ไม่ควรมองข้าม”     เจาะลึก 5 ความเสี่ยงธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง

 

--------------------------------------------------------------------------------------------------

 facebook mango     line mango

 

 

เว็บไซต์ของแมงโก้มีการใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้คุณได้เข้าใช้งานได้อย่างมีอิสระ คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก“นโยบายการใช้คุกกี้” นโยบายการใช้คุกกี้ของเรา