ERP อสังหาริมทรัพย์ ERP Real Estate

logo
 

3 เทคนิคคิดค่าแรงผู้รับเหมา

 

3 เทคนิคคิดค่าแรงผู้รับเหมา

 

การคำนวณค่าแรง ที่สามารถคิดได้ง่าย ๆ

การคิดค่าแรงผู้รับเหมาขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ความยากง่ายของงาน ความเชี่ยวชาญในการทำงาน ระยะเวลาในการทำงาน และต้นทุน
ในการดำเนินงาน เราควรต้องศึกษาและประเมินราคาอย่างรอบคอบ ก่อนดำเนินการวางราคาผู้รับเหมาว่าเหมาะสมกับงานหรือไม่ การคำนวณค่าแรงเพื่อหาต้นทุนแต่ละส่วนงานได้นั้น สิ่งสำคัญคือปริมาณงานที่สามารถทำได้ในหนึ่งวันของงานแต่ละประเภท หรืองานนี้จะต้องใช้จำนวนคนเท่าไร ระยะเวลากี่วันจึงจะเสร็จ เพื่อให้ได้ราคาที่เหมาะสม น้องแมงโก้มี 3 เทคนิคการคำนวณค่าแรง ที่สามารถคิดได้ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน
มาฝากพี่ ๆ ทุกคนครับ

 

3 เทคนิคคิดค่าแรงผู้รับเหมา

 

1. การคิดค่าแรงโดยเทียบปริมาณงาน

ส่วนใหญ่จะคิดค่าแรง จากค่าเฉลี่ยของปริมาณงานที่ทำได้ในหนึ่งวันกับค่าแรงต่อวันของงานนั้น ๆ

UNIT COST ค่าแรงต่อหน่วย (บาท) = (รวมค่าแรงงานต่อวัน) / (ปริมาณงานทำได้ใน 1 วัน)

จะได้ราคาต้นทุนในการทำงานต่อ 1 ตร.ม. เอาไว้ใช้งาน

**เนื่องจากค่าแรงที่คำนวณเป็นราคาต้นทุน ให้บวกกำไรที่ต้องการเข้าไป เพื่อเป็นค่าแรงที่ใช้ในการเสนอราคา

(ในการคำนวณค่าแรงจำเป็นต้องพิจารณาก่อนว่าเป็นแรงงานประเภทใด เนื่องจากแรงงานแต่ละประเภทนั้นมีค่าตัวที่แตกต่างกัน
แต่ขึ้นอยู่กับฝีมือ และระดับที่ต่างกันด้วย)

3 เทคนิคคิดค่าแรงผู้รับเหมา

 

2. การคิดค่าแรงโดยใช้จำนวนคนและจำนวนวัน

ค่าแรง = จำนวนวันทำงาน x จำนวนคน x ต้นทุนค่าแรงเฉลี่ย (ต่อคนต่อวัน)
จำนวนวันทำงาน = (จำนวนแรงงานต่อวัน / ปริมาณงานที่ทำได้ใน 1 วัน) x ปริมาณงาน

**เนื่องจากค่าแรงที่คำนวณเป็นราคาต้นทุน ให้บวกกำไรที่ต้องการเข้าไป เพื่อเป็นค่าแรงที่ใช้ในการเสนอราคา

(ในการคำนวณค่าแรงจำเป็นต้องพิจารณาก่อนว่าเป็นแรงงานประเภทใด เนื่องจากแรงงานแต่ละประเภทนั้นมีค่าตัวที่แตกต่างกัน
แต่ขึ้นอยู่กับฝีมือ และระดับที่ต่างกันด้วย)

 

 

3 เทคนิคคิดค่าแรงผู้รับเหมา

 

3. การคิดค่าแรงโดยเทียบกับราคากลาง

ค่าแรง = ระยะเวลาทำงาน (วัน) x ต้นทุนค่าแรง (บาท/วัน) + กำไรที่ต้องการ + โสหุ้ย (ต้นทุนทางอ้อม)

และนำค่าแรงที่คำนวณได้มาเปรียบเทียบกับราคากลาง เพื่อทำการตรวจสอบว่าใกล้เคียงกันหรือไม่ ซึ่งทำให้สามารถพิจารณาปรับเพิ่ม-ลด
ให้เหมาะสม

นอกจากต้นทุนแรงงานที่ใช้ในการคิดราคาแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ การจัดสรรแรงงาน การวิเคราะห์ในแต่ละงาน ว่าจะต้องใช้จำนวนคนและจำนวนวันเท่าไร เราจึงจำเป็นต้องรู้การลำดับ ขั้นตอน และเทคนิคในการก่อสร้าง สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องเรียนรู้และใช้ประสบการณ์ เพื่อให้ธุรกิจสามารถ "ควบคุมต้นทุน" ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

 

ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการคิดค่าแรง

อย่างไรก็ตาม การคิดค่าแรงผู้รับเหมามีความซับซ้อนและมีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณา ดังนี้

  • ประเภทแรงงาน - ระดับฝีมือแรงงานที่ใช้
  • จำนวนแรงงาน - ระยะเวลาทำงาน
  • สภาพการทำงาน - ลักษณะความยากง่ายของงาน
  • ระดับคุณภาพงาน - ข้อกำหนดที่ตกลงกับลูกค้า
  • รูปแบบ / คุณสมบัติวัสดุ - อุปกรณ์ที่ใช้ทำงาน
  • เครื่องมือเครื่องจักร - เทคนิคก่อสร้างต่าง ๆ

 

 

เสนอราคาไม่ขาดทุน คุมงบง่าย ใช้ Mango Anywhere
โปรแกรม ERP สำหรับผู้รับเหมา
ติดต่อทันทีได้ที่ 063 565 4594

  

 

Mango Anywhere พัฒนาโปรแกรมไม่หยุดยั้ง
ความสำเร็จของลูกค้า คือ ความสำเร็จของเรา

 

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิง  : https://bit.ly/491S74o,  https://bit.ly/3SysbX4,  https://bit.ly/3UskbJX

--------------------------------------------------------

บทความเพิ่มเติม 

เทคนิค ECRS ลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น เพื่อการบริหารโครงการก่อสร้างที่มีประสิทธิภาพ    เจาะลึก 5 ความเสี่ยงธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง    ลดคัดตัดcost

 

--------------------------------------------------------------------------------------------------

 facebook mango     line mango

 

 

เว็บไซต์ของแมงโก้มีการใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้คุณได้เข้าใช้งานได้อย่างมีอิสระ คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก“นโยบายการใช้คุกกี้” นโยบายการใช้คุกกี้ของเรา