ERP อสังหาริมทรัพย์ ERP Real Estate

logo
 

 

ในขณะที่ธุรกิจเติบโตขึ้น ระบบ ERP ควรสามารถปรับแต่งให้สนองตอบต่อกระบวนการทำงาน โครงสร้างองค์กร และรูปแบบความต้องการ ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ องค์กรที่ติดตั้งระบบ ERP จะต้องพบกับความท้าทายหลายอย่างในการทำให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะหลังจากระบบเริ่มทำงานจริง ซึ่งแม้ระบบ ERP ต่างๆ จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่สถานะที่เกิดขึ้นหลังจากการImplementระบบ ERP เสร็จสิ้น และระบบเริ่มทำงานจริงจะอยู่ในลักษณะลำดับขั้นสามขั้นด้วย

-  ขั้นที่ 1 เป็นขั้นตอนที่วุ่นวายหลังการImplementระบบเสร็จใหม่ๆ ระบบที่Implementจำเป็นต้องถูกปรับปรุง เพื่อให้มั่นใจว่าทุกองค์ประกอบของระบบมีความเสถียรและทำงานประสานกันได้อย่างดี หลังจากระบบเริ่มทำงานแล้ว องค์กรต่างๆ จะหันไปให้ความสนใจกับการดูแลจัดการและข้อมูล ในขั้นตอนนี้ เป็นจุดที่ควรมีการกำหนดบทบาทและความรับผิดชอบของผู้ใช้งาน การสร้างโพลิซีใหม่ให้รองรับโครงสร้าง ERP การ Integrate และใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ระบบ ERP ใหม่สร้างขึ้น และงานที่ต้องใช้แรงมากที่สุดก็คือการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการ Implementระบบ ERP ด้วย

-  ขั้นที่ 2 เป็นภาวะอยู่นิ่งหลังการ Implement ที่ประสบความสำเร็จแล้ว และมีการปรับกระบวนการต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ในระยะนี้แม้องค์กรจะได้รับความพอใจจากการ Implement แล้ว แต่พวกเขายังไม่ได้รับประโยชน์จาก ERP ในเรื่องของ ROI ตามที่คาดหวังไว้ เมื่อมาถึงขั้นตอนนี้ องค์กรต้องตรวจสอบและปรับปรุงประสิทธิภาพของธุรกิจ ด้วยการลดความซับซ้อนและเวลากระทำงาน ด้วยกิจกรรมที่สอดคล้องกับการทำงานของระบบ ลดการทำงานแบบ Manual และใช้ประโยชน์จากการทำงานอัตโนมัติของระบบ ERP แทน รวมทั้งเพิ่มความชาญฉลาดของระบบด้วยเอ็นจิ้นการวางแผนระดับสูง หรือการจัดตารางเวลาทำงาน เป็นต้น

-  ขั้นที่ 3 เป็นระยะการเติบโตของระบบ ซึ่งนับเป็นขั้นสูงสุดของการพัฒนาหลังจากระบบเริ่มทำงานแล้ว เป็นช่วงที่องค์กรต้องมองหาการสนับสนุนทางกลยุทธ์จากระบบ ERP ซึ่งสิ่งนี้จะต้องดำเนินไปควบคู่กับวิสัยทัศน์ขององค์กรและกลยุทธ์ทางธุรกิจ โดยมีจุดสนใจที่รายได้ เงินทุน และการเติบโตของบุคลากร ขั้นตอนนี้จำเป็นต้องได้รับความสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง และเมื่อทำได้สำเร็จ ERP จะกลายเป็นแบ็กโบนหลักที่จะแปลงวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ขององค์กรให้เป็นเป้าหมายที่มองเห็นและวัดได้ แล้วจับตาดูบนพื้นฐานที่ต่อเนื่อง

 

--------------------------------------------------------------------------------------------------

 

ERP (Enterprise Resource Planning)

-  แนวคิดของการพัฒนาระบบการบริหารการผลิตรวม (ERP)

-  ความหมาย Enterprise Resource Planning

-  ERP กับการแก้ปัญหาสินค้าคงคลัง

-  ERP กับธุรกิจ

-  การนำ ERP มาใช้ และการเชื่อมโยงไปสู่กิจกรรมการปฏิรูปองค์กร

-  ระบบงาน ERP

-  ขั้นตอนการวางแผนการนำ ERP มาใช้

-  กรณีที่ประสบความสำเร็จในการนำ ERP มาใช้

-  สาเหตุของความสำเร็จในขั้นตอนใช้งานและขั้นตอนพัฒนาต่อยอดของการนำ ERP มาใช้

 

เว็บไซต์ของแมงโก้มีการใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้คุณได้เข้าใช้งานได้อย่างมีอิสระ คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก“นโยบายการใช้คุกกี้” นโยบายการใช้คุกกี้ของเรา